คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

กองระบาดวิทยา สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธาณสุข มีหน้าที่หลัก 4 อย่าง คือ
1) การเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา ( เช่น โรคอุบัติใหม่, โรคติดต่ออุบัติใหม่ รวมทั้งโรคหัดต่างๆ และโควิด19ด้วย )
2) การสอบสวนโรคทางระบาดวิทยา ( เช่น มีการระบาดของโรคในพื้นที่ต่างๆ ทางกองระบาดวิทยาจะร่วมมือกับสำนักป้องกันควบคุมโรคในเขตหรือท้องที่นั้นๆ รวมถึงสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และโรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่ ร่วมกันแบ่งทีมสอบสวนโรค เพื่อค้นหาสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการระบาดครั้งนั้นๆ และหาวิธีการป้องกันที่เหมาะสมในการระบาดของโรคนั้นๆ )
3) การฝึกอบรมแพทย์เวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา (สำหรับคุณหมอที่ปฏิบัติงานในชุมชน โดยเรียกสั้นๆว่า "หมอระบาด" ซึ่งปฏิบัติงานในพื้นที่เป็นเวลา 2-3 ปี แล้วกลับเข้ามาเรียนที่กองระบาดวิทยา ระยะเวลา 3 ปี เพื่อฝึกเป็นหมอระบาดวิทยาที่เข้มแข็ง และสามารถทำงานร่วมกับทางพื้นที่ต่างๆได้ รวมถึงสามารถดำเนินการสอบสวนและเฝ้าระวังโรคในพื้นที่นั้นๆได้อย่างมีระสิทธิภาพ )
4) วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อพยากรณ์โรคล่วงหน้า (เพื่อส่งสัญญาณเตือน กรณีที่มีโรคหรือภัยสุขภาพที่อาจจะเริ่มเข้าสู่การระบาดที่มากขึ้น หรือเข้าสู่ขั้นวิกฤต เพื่อส่งสัญญาณให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆได้ทราบ รวมถึงการสื่อสารข้อมูลกับทางเจ้าหน้าที่และประชาชนทั่วไป ทั้งในรูปแบบการพยากรณ์โรคและการรายงานในรูปแบบต่างๆ ว่ามีการระบาดเรื่องอะไรบ้าง เพื่อจะได้เตรียมตัวในการป้องกันล่วงหน้า )

การติดต่อ
1) ผ่านการหายใจรับละอองฝอยจากน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย
2) สัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อ แล้วนำมาสัมผัสที่จมูก ตา หรือปาก"

⚠️ สามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ แต่ พบบ่อยในเด็ก
⚠️ อัตราป่วยตายสูงขึ้นใน ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี และผู้ที่มีโรคประจำตัว
🛡 คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
🛑 ปิด ปากและจมูก เมื่อไอหรือจาม ด้วยกระดาษทิชชู/ผ้าเช็ดหน้าหรือใช้ต้นแขนด้านใน
🧼 ล้าง มือให้สะอาด ก่อนกินอาหาร หลังไอ จาม หรือสัมผัสสารคัดหลั่ง
🚷 เลี่ยง การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
🏡 หยุด เรียน หยุดงาน เมื่อป่วย และพักผ่อนให้เพียงพอ
🏥 หากมีอาการรุนแรงให้รีบพบแพทย์
💉 7 กลุ่มเสี่ยง ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันอาการป่วยรุนแรง

Scroll to Top